วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ICT ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

1. เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โทรศัพท์มือถือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร บัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ที่มีแถบแม่เหล็ก ใช้บริการฝาก - ถอนเงินจากเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม ( ATM) การชำระค่าน้ำค่าไฟต่างๆ ผ่านธนาคาร การเล่นอินเทอร์เน็ต

2. บทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยการทำงานด้านต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธนาคาร : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านอุตสาหกรรม : เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านวิทยาศาสตร์

3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา : เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น

4. เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อช่วยการเรียนการสอน การจัดทำประวัตินักเรียน นักศึกษา ประวัติครูอาจารย์ การคิดคะแนนสอบ คิดเกรดเฉลี่ย การจัดทำตารางสอน การลงทะเบียนเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหารจัดการห้องสมุด เป็นต้น

5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการให้บริการของภาครัฐ : เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ช่วยในการเก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลประวัติบุคคล ข้อมูลประวัติอาชญากร ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออกสำเนาทะเบียนบ้านด้วยคอมพิวเตอร์ การคิดคำนวณภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสำมะโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ การให้บริการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ : ใช้ช่วยงานพิมพ์ งานคำนวณ งานจัดเก็บข้อมูล งานบริหารจัดการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ การดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การวางแผนการขาย งานบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านค้าสมัยใหม่ เช่น การให้บริการชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ช ทำให้เกิดการทำธุรกรรมและการติดต่อธุรกิจได้ทั่วโลกในทุกเวลาและทุกสถานที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ของโลก



สารสนเทศสารมารถพัฒนาประเทศได้อย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ   
    
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม
ด้านสังคม ช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริชองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY ( Digital Accessible Information System)


      

ที่มา : http://www.dyslexic.com/mmdyslexic/
Images/web_PlextalkPTR2.jpg
ที่มา : http://www.blind.or.th/school/techno.htm